Sat. Sep 28th, 2024

โรคเรื้อน (Leprosy หรือ Hansen’s Disease) นับว่าเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ตามปกติแล้วผู้ที่ป่วยโรคนี้จะมีอาการทางผิวหนัง กล้ามเนื้อ และปลายประสาทต่าง ๆ เช่น ผื่นแดง เป็นแผล รวมถึงผื่นจาง ๆ รวมถึงมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ความรู้สึกลดน้อยลง และร้ายแรงที่สุดคืออาจทำให้ตาบอดหรือเป็นอัมพาตได้ ในกรณีที่เชื้อแบคทีเรียเกิดการลุกลามที่รุนแรง ซึ่งจากการวินิจฉัยของแพทย์พบว่า เรื้อน สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นผ่านของเหลวที่ติดเชื้อ เช่น น้ำลายหรือน้ำมูก จากการไอ จาม และการพูดคุยในระยะประชิด

อาการแบบนี้แหละคือโรคเรื้อน!

เหมือนว่าโรคเรื้อนจะเป็นโรคที่สามารถสังเกตอาการได้ง่ายกว่าโรคอื่น ๆ แต่คุณรู้ไหมว่า ? ใช้เวลายาวนานหลายปีเลยทีเดียว กว่าที่โรคดังกล่าวจะปรากฏออกมา นั่นก็เป็นเพราะว่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค เกิดการแพร่กระจายและเพิ่มจำนวนอย่างช้า ๆ ซึ่งอาการที่เกิดจากโรคดังกล่าวก็มีดังนี้

  1. เกิดแผลหรือตุ่มนูนแดง และเป็นด่างหรือผื่นที่สีจางกว่าผิวหนังปกติ
  2. ประสาทสัมผัสเริ่มรับรู้น้อยลง หรือไม่รับรู้เลย
  3. ผมหรือขนหลุดร่วง
  4. ระบบประสาทต่าง ๆ ในร่างกายถูกทำลาย โดยเฉพาะประสาทตาที่อาจจะทำให้ตาบอดได้
  5. กล้ามเนื้ออ่อนแรง ฝ่อลีบ
  6. อวัยวะส่วนปลายประสาทชาหรือไม่มีความรู้สึก เช่น มือ แขน เท้า และ ขา
  7. ตาแห้ง เริ่มกะพริบตาน้อยลง
  8. รูปลักษณ์ภายนอกและใบหน้าเสียโฉม

การรักษาโรคเรื้อน

อย่างที่บอกไปแล้วว่าโรคเรื้อนคือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นจึงต้องทำการรักษาด้วยการจ่ายยาปฏิชีวนะ เพื่อต้านหรือกำจัดเชื้อให้ได้มากที่สุด ซึ่งในส่วนนี้แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะของลักษณะอาการในผู้ป่วยเป็นรายบุคคล และในบางครั้งก็อาจจะจ่ายยาปฏิชีวนะมากกว่า 1 ชนิด โดยผู้ป่วยจะต้องอยู่ภายใต้การรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัดด้วยการใช้ยาอย่างน้อยประมาณ 6 – 12 เดือนขึ้นไป และยาที่นิยมใช้รักษาโรคดังกล่าว ก็มีดังนี้

  • แดพโซน (Dapsone)
  • ไรแฟมพิซิน (Rifampin)
  • โคลฟาซิมีน (Clofazimine)
  • ไมโนไซคลีน (Minocycline)
  • ออฟล็อกซาซิน (Ofloxacin)

นอกจากการให้ยาปฏิชีวนะตามความเหมาะสมแล้ว แพทย์ก็อาจจะมีการให้ยาต้านอาการอักเสบร่วมด้วยเช่นกัน อาทิ ยาแอสไพริน เพรดนิโซน (Prednisone) หรือทาลิโนไมด์ (Thalidomide) แต่สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์อยู่ก่อนแล้ว แพทย์ก็จะหลีกเลี่ยงการให้ยาปฏิชีวนะทาลิโดไมด์ เนื่องจากจะส่งผลให้เด็กในครรภ์พิการตั้งแต่กำเนิดได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อน

หากผู้ป่วยโรคเรื้อนไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างเคร่งครัดหรือรู้ตัวช้า ก็อาจจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ก็มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง แผลติดเชื้ออักเสบรุนแรงหรือลุกลาม
  • อวัยวะเสียหาย เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้างอหรือกุด
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือลีบ
  • ประสาทแขนและขาถูกทำลาย ส่งผลให้เป็นอัมพาตในอนาคต
  • ไตวาย
  • รูปร่างเสียโฉม เช่น เนื้อจมูกเสียหายผิดรูปร่าง ขนตาหรือขนคิ้วหลุดร่วง
  • ม่านตาอักเสบ ประสาทตาถูกทำลาย เป็นต้อหินหรือตาบอด
  • ประสบภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

การป้องกันโรคเรื้อน

หากอ้างอิงตามหลักทางการแพทย์แล้ว “ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ป้องกันได้” แต่ก็มีวิธีป้องกันอื่น ๆ ที่สามารถลดการติดเชื้อจากโรคเรื้อนได้เช่นกัน แถมยังสามารถทำได้ง่าย ๆ อีกด้วย นั่นก็คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสมูกของเหลวต่าง ๆ เช่น น้ำมูกหรือน้ำลายของผู้ป่วย หรือบุคคลอื่น ๆ ที่คุณไม่รู้จัก ประกอบกับระมัดระวังการพูดคุยกับบุคคลอื่น และผู้ป่วยโรคนี้ในระยะประชิด สำหรับผู้ป่วยที่ไม่อยากแพร่เชื้อให้คนอื่น ก็สามารถป้องกันได้เช่นกัน โดยจะต้องปิดปากและจมูกในขณะที่ไอหรือจามเสมอ ที่สำคัญคือจะต้องรักษาตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น

ซึ่งต้องยอมรับว่าโรคเรื้อน คือโรคติดต่อที่ค่อนข้างร้ายแรง โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ แต่เชื่อเถอะว่าหากคุณได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และปฏิบัติตัวคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะสามารถควบคุมอาการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะกำจัดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ให้หายขาดแล้ว เครื่องดูดไขมัน ยังป้องกันการแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่น ๆ ได้อีกด้วย แต่ต้องบอกก่อนว่าผู้ป่วยโรคนี้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ แต่จะต้องมีความรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ ให้มาก มิเช่นนั้นอาจเกิดการแพร่กระจายโรคได้

By beauty