Sat. Sep 28th, 2024

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อของตับ จากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ที่อาจนำไปสู่โรคร้ายอื่น ๆ ที่อันตรายต่อกับและชีวิตได้ เช่น มะเร็งตับ ตับวาย และ ตับแข็ง แถมยังสามารถติดต่อกันผ่านสารคัดหลั่งที่ออกจากร่างกายได้อีกด้วย อาทิ เลือด เข็มฉีดยา การฝังเข็ม อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีเชื้อปนเปื้อน และสารคัดหลั่งจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็น “พาหะ” ประมาณ 350 – 400 ล้านคน จากการเก็บสถิติในผู้ป่วยทั่วโลก และในประเทศก็พบร้อยละ 6 – 10 ของประชากรในประเทศ หรือคิดเป็น 6 – 7 ล้านคน เพื่อเป็นการเพิ่มความเข้าใจที่มากขึ้น เราจะพาทุกคนไปไขข้อสงสัยพร้อม ๆ กันว่า ไวรัสตับอักเสบบี อันตรายไหม? และมีวิธีการรักษาเป็นอย่างไรบ้าง

อาการของไวรัสตับอักเสบบี อันตรายไหม? แล้วมีอาการเป็นอย่างไรบ้าง?

สำหรับผู้ที่กังวลใจว่าไวรัสตับอักเสบบี อันตรายไหม? เรามีคำตอบให้คุณ ซึ่งต้องบอกก่อนว่าโดยปกติแล้ว ผู้ป่วยโรคนี้จะพบอาการในช่วง 1 – 3 เดือนแรกหลังจากที่ได้รับเชื้อ แต่ร้อยละ 90 – 95 ก็หายเป็นปกติ เนื่องจากร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาปกป้องร่างกาย แถมยังไม่สามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก แต่ในส่วนของร้อยละ 5 – 10 ที่ร่างกายไม่สามารถรักษาให้หายได้ จะยังคงมีอาการให้เห็น แต่จะไม่สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้

ซึ่งในช่วง 1 – 3 เดือนแรก จะนับว่าเป็น “ระยะเฉียบพลัน” แต่จะไม่พบอาการรุนแรงที่ก่อให้เกิดความกังวลเท่าไหร่นัก แต่ถ้าในอนาคตผู้ป่วยยังคงติดเชื้อดังกล่าว มากกว่า 6 เดือน จะนับว่าเป็น “ระยะเรื้อรังหรือตับอักเสบเฉียบพลันเรื้อรัง” ประกอบกับยังพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ด้วย เช่น มะเร็งตับและตับแข็ง อาการดูดไขมันก็จะแตกต่างกันออกไปตามภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

ไวรัสตับอักเสบบี อันตรายไหม? รักษาได้อย่างไร?

สำหรับหัวข้อนี้เราก็จะมาบอกต่อแนวทางวิธีการรักษาไวรัสตับอักเสบบี เพื่อสยบคำถาม ไวรัสตับอักเสบบี อันตรายไหม? ที่ใครหลายคนต่างพากันตั้งคำถามอยู่เสมอ ซึ่งการรักษาโรคจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

  1. ระยะเฉียบพลัน

หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นระยะเฉียบพลัน ที่ร่างกายสามารถรักษาตัวเองได้ แพทย์ก็ให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และการดื่มน้ำในปริมาณมาก

  1. ระยะเรื้อรัง

หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นระยะเรื้อรัง ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา และเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น ซึ่งการรักษาผู้ป่วยระยะนี้ แพทย์จะรักษาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยเป็นสำคัญ อาจจะใช้ยาในการรักษา เช่น ยาอินเตอร์เฟอรอน หรือยาต้านเชื้อไวรัส ไปจนถึงการผ่าตัดเปลี่ยนตับ สำหรับผู้ป่วยระยะเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จนก่อให้เกิดโรคร้ายตามมา เช่น มะเร็งตับ ตับวาย หรือตับแข็ง จะต้องทำการเปลี่ยนตับหรือปลูกถ่ายตับใหม่ เนื่องจากโรคร้ายต่าง ๆ เกิดจากการที่เซลล์ตับค่อย ๆ ทำลายตัวเองลง จนไม่สามารถทำงานได้ปกติ

และถ้าหากจะถามถึงวิธีป้องกันก็สามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีน สามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด เด็กโต ไปจนถึงผู้ใหญ่ แต่ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่จำเป็นน้อยมาก เนื่องจากร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานเชื้อโรคได้เองอยู่แล้ว ดังนั้นหากต้องการฉีดวัคซีนก็อาจจะต้องดูความจำเป็นเพิ่มเติม จากการตรวจเลือดก่อนเข้ารับวัคซีน นอกจากนี้ก็ยังสามารถป้องกันโรคดังกล่าวได้ด้วยวิธีอื่น เช่น ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่เครียดหรือวิตกกังวลมากจนเกินไป และในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ก็ควรจะสวมใส่ถุงยางอนามัยเสมอ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้คุณหากไกลจากโรคไวรัสตับอักเสบบีได้แล้ว

ถ้าหากใครยังสงสัยว่า ไวรัสตับอักเสบบี อันตรายไหม? ก็ต้องบอกว่าในปัจจุบันโรคดังกล่าวไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เนื่องจากมียาที่มีประสิทธิภาพสูงในการช่วยคุมอาการ แต่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงความจริงที่ว่า “ไวรัสตับอักเสบบีเป็นชนวนสำคัญที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและชีวิต” ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคืออย่าเพิกเฉยและหมั่นตรวจสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะการตรวจค่าตับอย่างสม่ำเสมอ เพราะคงจะดีไม่ใช่น้อยหากรู้ตัวเร็ว และสามารถรักษาตัวได้ทัน และถ้าหากเป็นแล้วก็ควรจะเข้ารับการรักษาอย่างจริงจังด้วย เพียงเท่านี้ก็สามารถลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้แล้ว

By beauty